วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กลยุทธ์การตั้ง Stop Loss (จุดขาดทุน)

"ทำไมราคาวิ่งมาชน Stop loss (SL) ของเราอีกแล้ว" นี่น่าจะเป็นคำถามที่เทรดเดอร์ถามตัวเองแบบเซ็งๆเป็นประจำเมื่อออเดอร์ของเราโดน SL
ที่ มันเป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ตลาดจะทำทุกอย่างที่มันอยากจะทำ เคลื่อนไหวไปในทางที่มันอยากจะไป เทรดเดอร์ต้องเจอกับความท้าทายใหม่ๆทุกวัน ส่วนมาก็จะเป็นในเรื่องของการเมืองทั่วโลก เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจ หรือแม้แต่กระทั่งข่าวลือที่เกี่ยวกับธนาคารกลางที่สามารถทำให้ราคาวิ่งไปใน ทิศทางไหนก็ได้ในเวลาอันรวดเร็วโดยที่คุณไม่ทันได้ตั้งตัว นั่นก็หมายความว่า จะต้องมีเทรดเดอร์บางคนที่เปิดออเดอร์ในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับราคาตลาด และต้องเสียเงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ว่าเราสามารถควบคุมได้ว่าเราจะทำอย่างไรเมื่อเราตกอยู่ในสถานการณ์อย่าง นั้น เราสามารถปิดออเดอร์เพื่อตัดการขาดทุนในตอนนั้นเลย หรือว่าคุณจะนั่งรอคอยความหวังว่าราคามันจะกลับมาในที่ที่คุณต้องการ และถ้ามันไม่กลับมาอย่างที่คุณหวังไว้แล้วคุณปล่อยไปอย่างนั้นเรื่อยๆโดยไม่ มีการตัดสินใจ พอร์ตของคุณก็อาจจะสะอาดได้ (ล้างพอร์ต)
คำพูดที่ว่า  "Live to trade another day!" น่าจะเป็นคำขวัญของเทรดเดอร์มือใหม่ทุกคน เพราะ ยิ่งคุณอยู่รอดได้นานเท่าไหร่ คุณก็สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นเท่านั้น และนั่นก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จของคุณด้วย
กลยุทธ์การเทรด อีกอย่างที่สำคัญคือการ  "stop losses" ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญที่เทรดเดอร์ควรจะรู้ไว้เพื่อเป็นอาวุธอย่างหนึ่งใน การเทรด การที่มีการตั้ง SL นี้ นอกจากจะช่วยตัดการขาดทุนของคุณเพื่อให้มีโอกาสในการกู้สถานการณ์แล้ว มันยังช่วยขจัดความวิตกกังวลที่เกิดจากการสูญเสียในการเทรดโดยไม่ต้องวางแผน ด้วย และความเครียดที่ลดลงมันก็เป็นผลดีในการเทรดของคุณด้วย
จุด SL ควรจะเป็นจุดที่ "ลบล้างความคิด" ในการเทรดสำหรับออเดอร์นั้นๆของคุณ ดังนั้นเมื่อราคามาถึงจุด SL มันก็น่าจะเป็นสัญญาณว่า "มันถึงเวลาที่ต้องออกจากออเดอร์นี้แล้ว"
การตั้งจะ SL นั้นมี 4 วิธี ที่เราสามารถเลือกใช้ได้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน หรือเลือกแล้วแต่ความถนัดของเรา
1. หยุดตามสัดส่วนความเสี่ยงของเงินทุน
2. หยุดตามรูปแบบของกราฟ
3. หยุดตามความผันผวน
4. หยุดตามเวลา


https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTc56U7ozJ2laT_iIk2sD9PpKMUm_VzBT_E-bIO1yRHD_5ynKz1

1. หยุดตามสัดส่วนความเสี่ยงของเงินทุน
การ ตั้ง SL แบบนี้เป็นการตั้ง SL แบบพื้นฐานที่สุด โดยใช้การกำหนดความเสี่ยงจากสัดส่วนของเงินทุนที่อยู่ในบัญชี อย่างเช่นว่า เราเต็มใจที่จะเสี่ยงขาดทุนได้ที่ 2% ต่อการเทรดในแต่ละครั้ง แต่ว่าเทรดเดอร์ทุกคนจะยอมรับความเสี่ยได้ไม่เท่ากัน บางคนอาจจะรับความเสี่ยงได้ถึง 10% ในขณะที่บางคนอาจจะยอมเสี่ยงได้เพียงแค่ 1% เท่านั้น
และในการตั้ง SL คุณควรจะตั้งตามสภาวะของตลาด หรือตามกฎของระบบเทรดของคุณ ไม่ใช่ว่าตั้งตามจำนวนเงินที่คุณจะยอมสูญเสียได้
สับสนมั้ยคะ :) งั้นเรามาดูตัวอย่างกัน
นาย แดง มีบัญชีมินิ ที่มีเงินอยู่ $500 และ ขนาด Lot size ที่เขาสามารถเทรดได้คือ 10k ( ในบัญชีมินิ 10k เท่ากับการเทรดที่ จุดละ $1) แดงต้องการที่จะเทรด GBP/USD และเขาเห็นว่าราคาวิ่งอยู่แถวๆแนวต้านที่ระดับ 1.5620 เขาจึงต้องการที่จะเซล และตามกฎการลงทุนของเขาคือ เขาจะไม่เสี่ยงเกิน 2% ของเงินทุนในการเทรดแต่ละครั้ง และสำหรับการเทรดที่ขนาด 10k ของ GBP/USD แต่ละจุดมีค่า $1 และ 2% ของเงินในบัญชีแดงเท่ากับ $10 ดังแดงก็จะตั้ง SL ได้มากที่สุดที่ 10 จุด ดังนั้นแดงจะต้องตั้งจุด SL ของเขาไว้ที่ 1.5630


แต่ ว่า GBP/USD มีการเคลื่อนไหวทีมากกว่า 100 จุดต่อวัน ราคาจึงอาจจะวิ่งมาชนจุด SL ของแดงได้อย่างง่ายดาย เพราะตำแหน่ง SL นั้นจำกัดด้วยการตั้งค่าความเสี่ยงจากเงินในบัญชีของเขา และเขาตัง SL ด้วยโดยยึดตามจำนวนเงินที่เขาสามารถสูญเสียได้ แทนที่จะกำหนดตามเงื่อนไขจากการเคลื่อนไหวของ GBP/USD


 และ ในที่สุด ราคาก็วิ่งมาชน SL ของแดง เพราะว่าจุด SL ของเขาที่วางไว้น้อยเกินไป และนอกเหนือจากนั้นคือ เขาเสียโอกาสที่จะเก็บมากกว่า 100 จุดด้วย
จากตัวอย่างนี้คุณได้เห็นถึง อันตรายจากการตั้ง SL จากการใช้สัดส่วนความเสี่ยงของเงินทุน ที่บังคับให้เทรดเดอร์ต้องตั้งจุด SL ในระดับราคาที่ไม่เหมาะสมกับสภาวะของตลาดและอย่างในกรณีนี้ จุด SL ก็อยุ่ใกล้กับจุดเปิดออเดอร์มาก และเป็นการตั้ง SL ที่ไม่ได้ใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคร่วมด้วยเลย (เห็นว่าใกล้แนวต้านก็ใส่เลย ไม่ได้วิเคราะห์อย่างอื่นร่วมเลย)
คุณรู้อยู่แล้วว่า คุณควรจะตั้ง SL ในระดับที่ราคาสามารถจะกลับตัวมาในทิศทางที่คุณคาดคิดไว้โดยไม่ชน SL ของคุณ แต่ในกรณีนี้ราคามันวิ่งไปชน SL เข้าแล้ว จึงหมดโอกาสที่จะทำกำไรได้ และ วิธีแก้ปัญหาสำหรับแดงก็คือ หาโบรคเกอร์ที่เหมาะสมกับสไตร์การเทรดและเงินทุนของเขา
ในกรณีของแดง เขาควรแก้ไขโดยการหาโบรคเกอร์ที่เขาสามารถกำหนดขนาดการซื้อขายที่เล็กลง หรือแม้แต่สามารถกำหนดขนาดเองได้ อย่างเช่น สามารถเทรดที่ขนาด 1k ในคู่เงิน GBP/USD ได้ ซึ่งแต่ละจุด จะมีค่าเท่ากับ $0.10 ซึ่งจะทำให้แดงสามารถตั้งจุด SL ได้ตามเงื่อนไขความเสี่ยงของเขาได้อย่างสบายๆ แดงจะสามารถตั้งจุด SL สำหรับการเทรด GBP/USD ได้ถึง 100 จุด ในความเสี่ยงที่ 2% ของเงินในบัญชีของเขา และตอนนี้เขาก็สามารถตั้ง SL ให้เหมาะสมกับสภาวะของตลาด รวมทั้งเป็นไปตามกฎของระบบการซื้อขาย ตามแนวรับแนวต้านแล้ว


2. หยุดตามรูปแบบของกราฟ
วิธี การหาจุด SL อีกวิธหนึ่งที่เหมาะสมมากกว่าวิธีแรกคือ ตั้งตามรูปแบบของกราฟ เป็นการตั้ง SL โดยยึดตามสิ่งที่ที่ตลาดบอกเราด้วยรูปแบบของตัวมันเอง
เรา สามารถสังเกตการเคลื่อนไหวของราคาได้ ในบางครั้งราคาก็ดูเหมือนไม่สามารถที่จะวิ่งทะลุผ่านแนวรับแนวต้านนั้นๆ และก็มีบ่อยครั้งที่ราคาวิ่งผ่านแนวรับแนวต้านไปได้ในที่สุดหลังจากวิ่งไป วิ่งมาอยู่ในกรอบแนวรับแนวต้านนั้นมาระยะหนึ่ง
การตั้งจุด SL ให้เหนือหรือต่ำกว่าระดับแนวรับแนวต้านนั้นก็เป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลในกรณี ที่ราคาไม่ Break ระดับแนวรับแนวต้าน แต่ถ้าราคาสามารถ break กรอบราคานั้น ก็จะทำให้เทรดเดอร์อื่นๆเห่เข้ามาเล่นด้วยเมื่อเห็นการทะลุของราคา (Breakout) และเทรดเดอร์เหล่านั้นอาจจะทำให้ราคาวิ่งไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับออเดอร์ ของคุณ(ที่เล่นอยู่ในกรอบราคา) ได้ และอย่างที่คุณทราวว่าเมื่อเวลาพักตัวอยู่ในกรอบราคานั่นหมายถึงการสะสมพลัง ซึ่งเมื่อราคาเกิดการ Breakout แล้วก็มีแนวโน้มมากที่ราคาอาจวิ่งพุ่งเป็นเทรนไปในทิศทางนั้นๆ  ต่อไปเรามาดูตัวอย่างการตั้ง SL อีกอย่างหนึ่งเมื่อเกิดการ Breakout ของราคา
จากตัวอย่างเป็นการตั้ง SL โดยยึดตามแนวรับแนวต้าน


ตาม ภาพตัวอย่างเราเห็นได้ว่าราคามีการซื้อขายกันอยู่เหนือเส้นแนวรับ (สีดำ) และเมื่อราคาวิ่งทะลุผ่านแนวต้านด้านบน (สีแดง) ไปได้คุณก็คิดว่ามันการ Breakout ที่สวยงาม และคุณตัดสินใจที่จะซื้อตามแนวโน้มนั้น แต่ก่อนอื่นคุณต้องตั้งคำถามก่อนว่า ตรงไหนที่คุณจะตั้ง SL ถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่ได้เป็นไปอย่างที่คุณคาดคิดไว้ และเงือนไขอะไรที่จะบอกคุณได้ว่า ความคิดของคุณในการเข้าซื้อครั้งนี้ไม่ถูกต้อง


 ใน กรณีนี้ การตั้ง SL ที่สมเหตุสมผมมากที่สุดคือ ตั้ง SL ไว้ใต้แนวรับ (สำดำ) และเส้นเทรนไลน์ (สีแดง) และถ้าราคาวิ่งผ่านเส้นเทรนไลน์นี้ลงมาได้ ก็หมายความว่า มีแรงซื้อไม่พอและตอนนี้ผู้ขายเป็นฝ่ายควบคุมตลาด ดังนั้นความคิดของคุณในการเปิดออเดอร์ซื้อในครั้งนี้จึงเป็นความผิดพลาด และถึงเวลาที่คุณควรจะออกจากออเดอร์ของคุณและยอมรับการสูญเสีย คุณจะเห็นราคาวิ่งในลักษณะนี้ได้บ่อยมากในคู่เงิน EUR/USD

ศึกษาข้อมูลได้ที่  http://siammetatrader.com/index.php/topic,556.0.html