วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บทสรุปสำหรับนักเก็งกำไร

หลายคนอาจจะสับสนว่าจริงแล้ว การเล่นหุ้นเป็นการพนันหรือเปล่า เพราะมันสามารถทำกำไรหรือขาดทุนมหาศาล ได้ในพริบตา โดยเมื่อทุกคนได้สัมผัสการเล่นหุ้นแล้ว ก็จะรู้ว่าความโลภมักจะตามมาครอบงำเสมอ ซึ่งสิ่งนี้เองทำให้ นักลงทุน ขาดสติและจะแปลงร่างเป็นนักพนันทันที นั่นก็คือ "เสียแล้วอยากเอาคืน ได้แล้วอยากได้อีก" ดังนั้นหากคุณจะเป็นผู้นึงที่อยู่รอดในเกมส์(ตลาดหุ้น) นี้คุณ จะต้องเรียนรู้ถืงความแตกต่างระหว่างนักเก็งกำไร(นักลงทุน)และนักพนัน



ความแตกต่างระหว่าง นักเก็งกำไร(นักลงทุน)และนักพนัน
“นักเก็งกำไรต้องสามารถบริหารความเสี่ยงได้ดี รู้จัก Upside Gain and Downside Risk หรือเลือกลงทุน แบบ Low Risk and High Return ได้”

“ต้องรู้ว่าเมื่อใดควร Cut Loss และเมื่อใด ควร Let Profit Run”
“โดยสรุปแล้วควรมีการวางแผน เฝ้าสังเกตการณ์ และการป้องกันความเสียหายด้วยการป้องกันต้นทุน เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง”

ส่วนนักเก็งกำไรระดับโลก อย่าง Jesse Livermore ก็มีการพูดถึงปรัญญาการเป็นนักลงทุน ที่ดีเลยทีเดียว ครับ เพราะเขาพูดถึงว่าหากคุณจะเป็น นักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จ จะเป็นคนช่างสังเกต มีความจำและมีหัวทางคณิตศาสตร์ที่ดี นอกจากนี้ จะต้องไม่เสี่ยงโดยไร้เหตุผล หรือในสิ่งที่คาดหวังไม่ได้ โดยหากสิ่งที่คาดหวังไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย เขาก็จะจดจำ และประเมินออกมาให้เป็นความน่าจะเป็น  ถึงจะยอมเลือกเสี่ยงเมื่อประเมิณความเสี่ยงได้

Wisdom of Jesse Livermore
“ Observation, experience, memory and mathematics. These are what the successful trader must depend on. He must not only observe accurately but remember at all times what he has observed. He cannot bet on the unreasonable or on the unexpected, however strong his personal convictions may be about man's unreasonableness or however certain he may feel that the unexpected happens very frequently. He must bet always on probabilities. That is, try to anticipate them. Years of practice at the game, of constant study, of always remembering, enable the trader to act on the instant when the unexpected happens as well as when the expected comes to pass. “

ดังนั้นหากจะลบจุดอ่อนต่างๆ คุณอาจจะต้องคิดพิจารณาว่าอะไร คือสิ่งที่ไม่ควรทำในการลงทุน
1. ลงทุนเกินตัว เช่น การเล่น Net settlement การกู้เงินมาเล่น หรือเงินที่ต้องใช้จ่ายในระยะสั้น เพราะจะทำให้คุณเกิดความกลัว และทำให้ตัดสินใจผิดพลาด
2. รอความแน่นอน การรอข่าวสารหรือสิ่งยืนยันที่ชัดเจน เช่นข่าวจาก นสพ.หรือรอให้ทุกคนเห็นด้วย บางครั้งก็ช้าไปเสียแล้ว
3. ยึดติดกับความฝันหรือตัวเลขของกำไร ทำให้คุณไม่กล้าที่จะขายหากหุ้นเปลี่ยนทิศทาง
4. คิดวาดฝันหรือจิตนาการขึ้นเอง
5. ไม่ทำตามแผนที่วางไว้ 
6. ไม่รู้ว่าจะหยุดขาดทุนเมื่อไหร่
7. มีความมั่นใจเกินไป
8. หลงไหลในหุ้น

ศึกษาข้อมูลได้ที่ http://siammetatrader.com/index.php/topic,44.0.html

Introduction of Technical Analysis article

Introduction of Technical Analysis
การวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นหลักการวิเคราะห์ที่ใช้เหตุและผลผ่านตัวเลขทางคณิตศาสตร์ สถิติ  การวิเคราห์เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ จนเป็นความน่าจะเป็นหรือทฤษฎีแนวโน้ม ดังนั้นผู้ที่จะเรียนรู้การวิเคราะห์ทางเทคนิคนั้น ต้องเป็นคนที่ช่างสังเกต และจดจำปรากฎการณ์ต่างๆ จนเป็นรูปแบบซ้ำๆ หรือที่เรียกว่า “Pattern” ซึ่งอาจจะต้องเรียนรู้จิตวิทยาของคน ว่าคนส่วนใหญ่คิดอย่างไร และคนส่วนน้อยคิดอย่างไร โดยหากสามารถคาดการณ์ว่า กลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อตลาดนั้นคิดอย่างไร เราก็สามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเกมแห่งการเก็งกำไรได้  นอกจากนี้รูปแบบการวิเคราะห์ทางเทคนิคส่วนหนึ่งอาจจะต้องใช้เครื่องมือคำนวนทางคณิตศาสตร์ที่สามารถแปรข้อมูลในอดีตเพื่อบ่งบอกข้อมูลในอนาคต หรือที่เรียกว่า “Indicator” โดยการคำนวนจากการเปลี่ยนแปลงของราคา และปริมาณในการซื้อขาย ในระยะคาบเวลาที่แตกต่างกัน ซึ่งเมื่อใช้สูตรคำนวนแล้วจะสามารถบอกได้ถึง ความต้องการของอุปสงค์ และอุปทาน (Demand & Supply) ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร  มีมากหรือน้อยเกินไปเท่าใด ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจถึงปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ซื้อมากเกินไป (Over Bought) หรือขายมากเกินไป (Over Sold)  ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจถึงจังหวะหรือช่วงเวลาที่ควรเข้าไปทำการซื้อหรือขายเพื่อทำกำไร หรือหยุดขาดทุน

What’s type of investor who’s can do technical chart
นักลงทุนหลายท่าน อาจจะสับสนกับตัวเองว่าการวิเคราะห์แบบใด น่าจะดีที่สุด บางท่านก็เชื่อในการวิเคราะห์ทางพื้นฐาน และบางท่านก็เชื่อในการวิเคราะห์ทางเทคนิค ซึ่งคำตอบของแต่ละอันก็ล้วนมีเหตุผลที่น่าเชือถือด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อเรื่องมูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) ว่าสิ่งใดก็ตามหากสิ่งนั้นมีค่าแล้วแต่ยังไม่มีคนเห็น แต่เมื่อเราซื้อได้ก่อนที่ราคาถูกกว่าหรือในราคาที่เหมาะสม แล้ววันหนึ่งหุ้นหรือสินค้าตัวนั้นจะกลับมาสู่มูลค่าที่แท้จริงเสมอ แต่หลักการนี้ มิได้บอกว่าเมือ่ไหร่ ดังนั้นการวิเคราะห์ทางเทคนิค จะมองเรื่องของความต้องการ ของสินค้านั้นในช่วงเวลาต่างๆ เพื่อที่จะส่ามารถคาดการณ์ว่า ณ ช่วงเวลาใด ควรที่จะซื้อหรือขายสินค้านั้น เพื่อได้ประโยชน์สูงสุด บนข่วงเวลาที่นักลงทุนนั้นๆ กำหนดไม่ว่าจะเป็นระยะสั้น หรือระยะยาวนานเพียงใด

ดังนั้นไม่ว่าจะหาคำตอบอย่างไร ก็คงมีเหตุผลที่ดีทั้งสองฝ่าย ด้วยเหตุนี้ต้วท่านต่างหากที่จะเป็นคนหาคำตอบ โดยท่านควรที่จะรู้ว่าตัวเองเป็นนักลงทุนประเภทใด ซึ่งหากเปรียบเทียบการลงทุน นั้นเปรียบเสมือนการทำธุรกิจอย่างหนี่งที่ท่านจะต้องลงทุน ท่านจะต้องทำความเข้าใจถึงธุรกิจนั้นๆก่อน ว่าเป็นธุรกิจประเภทใด ซึ่งท่านมีความถนัด ความรู้ ความเข้าใจ ความชอบ และรักธุรกิจนั้นมากน้อยขนาดใด ซึ่งอยู่บนฐานของเงินลงทุน และระยะเวลาที่ท่านต้องการคืนทุน หรือสภาพคล่องในระหว่างดำเนินการ
ซึงหากจะเปรียบเป็นการแบ่งประเภทสินค้าที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจนั้น อาจแบ่งได้ 3ประเภท

1. Fashion Product  สินค้าที่ใช้ตามยุคสมัยในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือตามแฟชั่น ซึ่งสินค้านี้อาจจะมีความต้องการสูงสามารถซื้อหรือขายได้ง่าย สามารถสร้างกำไร ได้อย่างรวดเร็ว แต่ส่วนต่างทางการทำกำไรอาจไม่มากนัก แต่ข้อเสียคือหากซื้อมา แล้วขายไม่หมดในช่วงเวลาที่ตลาดต้องการ สินค้านั้น มีโอกาสหมดอายุและมูลค่าอาจจะลดลงอย่างรวดเร็ว หรือไม่เหลือมูลค่าหากความต้องการหมดไปดั่งเช่น สินค้าไฮเทค หรือ เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า

2. Utility Product สินค้านี้มีความต้องการอยู่ในตลาดอย่างสม่ำเสมอ หรือเปรียบเหมือนสินค้าอุปโภคบริโภค ที่มีการซื้อและขายอยู่ทั่วไป ไม่ค่อยจะมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านั้นอย่างรุนแรง ซึ่งการซื้อขายสินค้าประเภทนี้ อาจจะมีส่วนต่างๆทางกำไรอยู่ไม่มากนัก แต่มีความผันผวนของราคาต่ำๆ และสามารถซื้อตุนสินค้าต่อคราวได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งสินค้าเหล่านี้ คือ ผลิตภัณฑ์ของใช้ในบ้าน หรือสินค้าทั่วไปที่มีใน Convenience Store

3. Unique Product สินค้าประเภทนี้ผู้ทำการซื้อขาย ต้องมีความเข้าใจในสินค้านั้นเป็นอย่างดี มีความรู้ความเข้าใจ ความรักในสินค้านี้ โดยที่ไม่สามารถคาดหวังได้ว่าสินค้านี้ จะสามารถขายได้เท่าไหร่ หรือเมื่อใด ซึ่งอาจจะต้องรอจนกว่าจะได้ผลตอบแทนที่พึงพอใจจึงจะยอมขาย  ดังนั้นสินค้าประเภทนี้จึงไม่ค่อยมีการเปลี่ยนมือได้ง่ายนัก แต่จะมีโอกาสขายได้ง่ายเมื่อวันหนึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดหรือจากแฟชั่น หรือเมื่อมีคนเห็นว่าสินค้านั้นดี และมีมูลค่าอย่างมากในอนาคต  ซึ่งผู้ขายสามารถเรียกราคา และได้กำไรจากสินค้าประเภทนี้ในส่วนต่างของกำไรที่มากกว่าสินค้าประเภทอื่น แต่อาจต้องอาศัยระยะเวลา และความรู้ความเข้าใจสินค้านั้นอย่างแท้จริง เปรียบเสมือนสินค้านี้ คือของสะสม ของหายาก ดังเช่น แสตมป์ รูปภาพ พระเครื่อง หรืออัญมณี

ซึ่งหากแบ่งประเภทธุรกิจให้เห็นดังนี้แล้วเราก็สามารถจัดตัวเองได้ว่าเป็นนักลงทุนประเภทใด และควรมีสินค้าประเภทไหน อยู่ในร้านค้าของตัวเอง โดยจะเห็นว่า

Fashion Product สินค้าแฟชั่น นั้น ผู้ลงทุนจะต้องอาศัยการคาดการณ์ความต้องการของตลาด ติดตามสภาวะความต้องการของตลาดเสมอ สามารถตัดสินใจ ได้เร็ว กล้าเสี่ยง และยอมรับการขาดทุนอย่างรวดเร็วได้ ซึ่งเปรียบเสมือนการเก็งกำไร จากการเปลี่ยนแปลงราคาอย่างรวดเร็วจาก Demand and Supply
  
Utility Product ผู้ลงทุนเลือกผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยอาจจะต้องติดตามความต้องการของตลาดบ้าง แต่ไม่ต้องใกล้ชิดเหมือนสินค้าแฟชั่น โดยสามารถซื้อขายสินค้านั้นได้คราวละเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสินค้าเหล่านั้นเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่แล้ว โดยหากเปรียบนักลงทุนประเภทนี้ ก็คือนักลงทุนประเภทกองทุน ที่จำเป็นจะต้องซื้อสินค้า เพื่อไว้ขาย ได้ในคราวที่ละมากๆ โดยคำนึงถืงสภาพคล่อง
  
Unique Product ผู้ลงทุนอาจจะต้องเป็นนักลงทุนที่มีความรักในผลิตภัณฑ์นั้นอย่างแท้จริง โดยสามารถซื้อสะสมได้ตลอด และรู้ถึงมูลค่าแท้จริง (Intrinsic Value) ของสินค้านี้ในอนาคตได้ว่าเป็นเช่นไร ซึ่งเปรียบเสมือนนักลงทุนประเภท Value investor โดยท่านจะมีความสุขเมื่อเห็นมูลค่าของสินค้าที่ท่านมีการเติบโตขึ้น โดยที่แม้ท่านอาจจะไม่ได้คิดอยากขายสินค้านี้ในอนาคตก็ตาม หรือหากขายท่านก็อาจจะยอมขายในราคาที่ท่านพอใจเท่านั้น

เมื่อมาถึงตอนนี้แล้วคงจะรู้แล้วว่าต้วท่านควรจะเลือกธุรกิจประเภทไหน ซึ่งท่านสามารถแบ่งสัดส่วนของประเภทสินค้า ต่างๆ ไว้ในร้านของท่าน ก็ได้ หรือจะเลือกประเภทใด ประเภทหนึ่งไปเลย เพื่อความถนัด และความพร้อมของแต่ละบุคคล
ศึกษาข้อมูลได้ที่ http://siammetatrader.com/index.php/topic,42.0.html